ในการดำเนินงานหมู่บ้านครามในปีแรก (ปีงบประมาณพ.ศ. 2555) ได้พัฒนาและสร้างความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรื่องคราม สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านคราม บ้านโนนนครและส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกคราม และการเก็บเกี่ยวคราม
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการหมักครามเพื่อผลิตเนื้อคราม
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม
4. ถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผ้าย้อมคราม
ตั้งเป้าหมายผู้ร่วมโครงการ 120 คน ได้ผู้เข้าร่วมจริง 163 คน พื้นที่ปลูกครามรวม 26 ไร่ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากครามรวม 4 ผลิตภัณฑ์ มีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 3 หมู่บ้าน จาก 3 อำเภอดังนี้
1. หมู่บ้านแม่ข่าย บ้านโนนนคร ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 93.36 พื้นที่ในการปลูกครามรวม 5ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เสื้อย้อมครามปักมือ
2. บ้านกุดตาใกล้ ตำบลสายนาวัง จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 78 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 85.16 พื้นที่ในการปลูกครามรวม 2 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เสื้อย้อมครามปักมือ
3. บ้านดินจี่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง ขังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 55 คน ร้อยละของผู้นำไปประกอบอาชีพได้ร้อยละ 100 ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 90.2 พื้นที่ในการปลูกครามรวม 19 ไร่ ได้ผลิตภัณฑ์จากคราม 2 ผลิตภัณฑ์ คือ เสื้อย้อมคราม เสื้อย้อมครามปักมือ
ผลลัพท์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่รับการถ่ายทอดคือ สามารถผลิตเนื้อครามได้ประมาณ 500 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 200 – 300 บาท (บางส่วนยังไม่ได้เก็บเกี่ยว) แต่ผู้เข้าโครงการไม่ต้องการจำหน่ายเป็นเนื้อครามเพราะต้องการเอาไว้ย้อมและทำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายตามรูปแบบที่ได้รับการถ่ายทอดไว้แล้ว คาดว่าน่าจะทันช่วงก่อนปีใหม่ ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คนละไม่น้อยกว่า 3,000 – 4,000 บาท ผ้าย้อมครามขายได้เมตรละ 300 -350 บาท เสื้อย้อมครามเย็บมือทั้งตัวราคาขายตัวละ 1,500 -1,800 บาท ขึ้นกับความยากง่ายของลายที่ปัก ผ้าพันคอผืนละ 150 – 400 บาท ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด
ผลลัพท์ทางสังคม เกิดความร่วมมือระหว่างคนหลายวัยในชุมชน ในการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเกือบจะหายไปจากชุมชนแล้ว ทำให้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดองค์ความเรื่องครามให้กับลูกหลานและมีรายได้ของตนเอง ลูกหลานเห็นช่องทางการมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมคราม ซึ่งทุกกระบวนการผลิตเองจากในชุมชน ในส่วนของเทศบาลตำบลขมิ้นได้เห็นความเข้มแข็งของหมู่บ้านคราม ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกลุ่มฯ จำนวน 5,000 บาท และนำผลงานผ้าย้อมครามของกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในงานต่าง ๆ
ความคิดเห็น
ต่อไปเวลาหาผลงาน สป.
ต่อไปเวลาหาผลงาน สป. จะมาหาในนี้ ถ้ามีรูปประกอบจะดีเลย
รูปได้เลยครับ
รูปได้เลยครับ ที่จริงของ มทร.อีสาน กาฬสินธุ์ เค้ามี facebook http://www.facebook.com/clinickalasin นะครับ เข้าไป follow ได้
หรือจะไปดูรายงานฉบับสมบูรณ์ในระบบ cmo ได้ครับ