จากที่ผมได้เคยเขียนในเรื่อง เทคโนโลยี "ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยว (System of Rice Intensification, SRI)"
ที่ได้นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับหมู่บ้านข้าวเหลืองอินทรีย์[SciV 081] บ้านโคกล่าม ต.ดงลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ทำให้ภายในชุมชน นำโดย คุณพ่อชุมพล เกษตรดีเด่น ระดับจังหวัดของปีนี้ ถึงกับยอมรับในเทคโนโลยี ดังกล่าว และไปส่งเสริม สอนให้กับหมู่บ้านที่มาสมัครเป็นลูกข่าย จนเกิดกระบวนการถ่ายทอดเองค์ความรู้จากพื้นที่หนึ่งไป ยังอีกพื้นที่หนึ่ง จุดที่ผมคิดว่าเป็นตัวที่สร้างให้เกิดการยอมรับในเทคโนโลยีดังกล่าว คือ การไปจัดทำแปลงสาธิต ที่ใส่กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ เข้าไป มีการจดบันทึก มีการสังเกต มีการสรุปผล จนเกิดเป็นองค์ความรู้ นำไปสู่การยอมรับ นำไปสู่การลดต้นทุนผลผลิตต่อไร่ลงกว่า 4000 บาท ต่อคนต่อไร่
คิดต่อว่าแล้วอะไรจะเป็นอุปสรรคต่อข้าวต้นเดี่ยว เท่าที่ผมมองมีอยู่ 2 อย่าง คือ
1. การบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ต้องการความรู้ในการจัดการน้ำในระดับพื้นที่พอสมควร
2. ค่าแรงงาน ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ ของการทำนาในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันถามว่าค่าแรง 300 บาท มีคนทำใหม ผมว่า เท่าที่ลงพื้นที่ บอกว่าแทบจะไม่มีใครทำ อย่างน้อย 350 หรือ 400 บาท อย่างนี้จะทำอย่างไร ข้าวต้นเดี่ยวถ้าไม่ใช้คนดำ ก็ต้องหาเทคโนโลยีเครื่องดำนามาช่วย แต่เทคโนลโยีก็อาจจะสู้ฝีมือคนดำนาไม่ได้ ต้องหันมาทบทวน กระบวนการลงแขก ซึ่งผมเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ และต้องช่วยกันฟื้นฟู ประเพณีการลงแขกดำนา ให้กลับมาให้ได้ เพราะในประเพณ๊ตัวนี้แฝงอะไรไว้หลาย ๆ อย่าง เช่น การแบ่งปันน้ำใจซึ่งกันและกัน การเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือกัน น่าจะเป็นทางออกสำหรับชาวนาไทยในปัจจุบันปละลูกหลานชาวนาไทยในอนาคต
และจากกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านจากหมู่บ้าน วท. ไปสู่หมู่บ้านแม่ข่าย วท. ที่โคกล่ามก็เป็นโมเดลหนึ่งที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ผู้ให้เทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ให้ให้ไปก็ไม่ไกลเกินความสามารถของผู้รับเทคโนโลยี ในส่วนผู้รับเทคโนโลยีก็มีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ นำกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หน่วยงานท้องถิ่นและจังวหัดให้ความสำคัญ อย่างเช่น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ความสำคัญต่อการนำ วทน. ไปพัฒนาชุมชน โชคดีที่ท่านผู้ว่าเองก็มีตำแหน่งที่ทาง ก.วิทย์ มอบให้ คือ ผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง มาก่อน
นี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือ 4 ภาคี ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชนและสื่อมวลชน ที่ผลักดันงาน วทน. ไปสู่การพัฒนาชุมชน
เป็นที่มาที่ไปที่นำไปสู่..............
6 สิงหาคม 2556 ท่านสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราขการ ร่วมดำนาข้าวต้นเดี่ยวเพื่อเปิดฤดูกาลการทำนาปี 2556 จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่หมู่บ้านลูกข่ายข้าวเหลืองอินทรีย์ บ้านโหมน ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์..โดยมีนายกเทศมนตรีห้วยโพธิ์กล่าวต้อนรับ นางสาวสมจันทร์ ดอนสินพูล ผอ.ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน รายงานกิจกรรมของหมู่บ้านลูกข่าย และผศ.นวลจันทร์ สิมะสุวรรณรงค์ รองอธิการบดี มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ กล่าวรายงานความเป็นมา...
ความคิดเห็น
ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมในการดำนาข้าวต้นเดี่ยว
ดร.บัวบาล กัวประเสริฐ์ ผอ.ศวภ 2 ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมในการดำนาข้าวต้นเดี่ยวของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่หมู่บ้านลูกข่ายข้าวเหลืองอินทรีย์ บ้านโหมน ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์