ผมได้สอนการใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ของ สป.วท. หลังจากจบการสอนแล้ว ผมก็มานั่งดูข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้ทดสอบไว้ ก็บังเอิญไปเห็นข้อความหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นข้อมูลที่อาจจะ อาจจะนะครับ ก่อให้เกิดความแตกแยกได้ ดังนั้นเรา(หมายถึงทุกคนใน สป.วท.) น่าจะมากำหนดมาตรการร่วมกันในการเขียนข้อความ ว่าข้อความลักษณะไหนที่ไม่ควรนำมาเขียน ในโปรแกรมการจัดการความรู้ของเราชาว สป. ใครมีข้อเสนอแนะ หรือข้อคิดเห็นอย่างไร ช่วยผมคิดหน่อยว่าเราจะทำอย่างไรดี จะกำหนดเป็นมาตรการออกมาดีใหม? หรือปล่อยให้เขียนกันตามใจชอบ เวทีนี้คงไม่ใช่เวทีที่จะให้ใครต่อใครมาเขียนกล่าวหากัน แต่เป็นเวทีที่เราจะแสดงความคิดเห็นกันว่า ที่มันเป็นปัญหาในขณะนี้ เราจะแก้กันอย่างไร ดี ???????
ผมมีคำแนะนำหลัการเขียน blog
หลักการเขียนบล็อกที่ดี
-
เมื่อมีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในบล็อก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันทึก ข้อมูลเจ้าของบล็อก หรือ ลิงค์ต่างๆ ก็ตาม เจ้าของบล็อกควรแก้ไขและแจ้งให้ผู้อ่านทราบโดยทันที
-
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในบันทึก ควรจะรักษาข้อความเดิมไว้ แต่จะทำการขีดฆ่าข้อความนั้นเสีย (โดยกดปุ่ม ABC ที่มีขีดกลางทับ ที่แผงเครื่องมือการเขียนบันทึก) แล้วแสดงข้อความใหม่ตามข้อความเดิมนั้นๆ
-
ห้ามลบทิ้งบันทึกที่เขียนไว้แล้วเด็ดขาด เพราะลิงค์ที่อยู่ของบันทึกจะถูกลบออกไปด้วย และหากมีผู้อื่นอ้างอิงงานเขียนชิ้นนี้อยู่บ้างแล้ว ก็จะไม่สามารถคลิ๊กมายังลิงค์นั้นๆได้ แต่หากเจ้าของบล็อกมีบันทึกที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการใช้งาน ก็ควรทำการลบบันทึกประเภทนี้ออก
-
ไม่ควรลบข้อคิดเห็นของผู้อ่าน ยกเว้นเป็นข้อคิดเห็นที่ไม่สุภาพสร้างความปั่นป่วนหรือเป็น spam
-
ไม่ควรเขียนอ้างอิงถึงข้อพิพาทความไม่ลงรอยใดๆ กับผู้อื่น
-
เจ้าของบล็อกที่เขียนเกี่ยวเนื่องกับองค์กรที่ทำงาน ไม่ควรเขียนบันทึกใดๆ ที่เป็นการละเมิดสัญญาจ้างงาน
-
เจ้าของบล็อกควรนำเสนอและแยกแยะประเด็นระหว่าง ข้อเท็ิจจริง ข้อคิดเห็น และข้อความโฆษณา ให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างถูกต้อง
-
ห้ามนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ
-
หากไม่เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านเสนอมาในบล็อก เจ้าของบล็อกก็ควรแสดงข้อคิดเห็นตอบกลับโดยความเคารพในข้อคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยไม่นำมาเป็นเรื่องส่วนตัว
-
เมื่อมีการใช้ข้อความจากที่อื่น ควรอ้างอิงแหล่งที่มาและลิงค์ที่อยู่อย่างชัดเจน
-
ควรเน้นคุณภาพงานเขียนของทุกบันทึก เช่น ตรวจสอบการสะกดคำก่อนตีพิมพ์บันทึกนั้นๆ ลงในบล็อก
-
ควรเขียนบันทึกอย่างรอบคอบและถูกต้อง
-
ควรตอบอีเมลและข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้อ่านอย่างเหมาะสมและโดยทันที
-
ควรเขียนบล็อกเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
วัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเขียนบล็อคคือ การเขียนเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องคำนึงว่าบันทึกที่เขียนนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจริง หรือเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ การเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในบล็อคของผู้อื่น แม้จะเป็นไปได้โดยอิสระเช่นเดียวกันกับการเขียนบันทึกในบล็อค ก็ควรเป็นการเขียนที่ใช้ภาษาสุภาพและเป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับบันทึกนั้นๆ โดยตรง นอกจากนี้จะต้องไม่เป็นการเขียนเพื่อวัตถุประสงค์ในการแทรกแซงและทำลายความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนานในการเขียนบล็อคของผู้เขียนท่านนั้นๆ
ที่มา http://gotoknow.org/blog/tutorial/3391