หมู่บ้าน
กลุ่มแปรรูปผลไม้ จันทบุรี หรือชื่อกลุ่ม โป่งแรคสามัคคี กลุ่มนี้มีความพร้อมในส่วนของ โรงเรือน เครื่องมือ อุปกรณ์ในการแปรรูปผลไม้ แต่มีปัญหาในการบริหารจัดการกลุ่ม ตัวประธานกลุ่มซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิง ต้องสวมหมวกหลายใบ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการพัฒนากลุ่ม และหาผู้มาทำหน้าที่แทนไม่ได้ ไม่มีการวางแผนการผลิต การบริหารจัดการวัตถุดิบ แผนการตลาด ทั้ง ๆ ที่มีความพร้อมในการผลิต
ติดตามหมู่บ้านแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ ฉะเชิงเทรา ก็เป็นหมู่บ้านที่มีประธานกลุ่มเข้มแข็ง อายุยังน้อย แต่มีความคิดก้าวหน้า ต้องการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรต่าง ๆ แต่ที่เน้นมาที่สุดคือ มะขาม เนื่องจากในพื้นที่มีการปลูกมะขามอยู่เยอะ
ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการหมู่บ้านหม่อนไหนไร้สารเคมี บ้านห้วยทราย ม.6 ต.หนองมะนาว อ.คง จ.นครราชสีมา เดินทาง 700 กว่ากิโล เดินทาง 7 โมงเช้า กลับถึง กทม. เกือบ 3 ทุ่ม อยู่ในหมู่บ้าน 3 ชม. ได้เห็น พื้นที่ปลูกหม่อนที่มีการจัดสรรพื้นที่สาธารณะในการทำแปลงปลูกหม่อนพันธุ์สกล 72 มีการจัดอบรมการย้อมไหมด้วยน้ำคราม โดยวิทยากรศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ แต่เมื่อปีที่แล้วทาง สทน.
ผมได้ลงไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ครั้งแรกในชีวิต เหลือที่เดียวของภาคใต้ที่ยังไม่ได้ลงพื้นที่ คือ นราธิวาส เพื่อไปจัดกิจกรรมสรรหาสมาชิก อสวท. ที่วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ซึ่งอยู่ในอำเภอเมือง ความรู้สึกครั้งแรกที่อยู่ระหว่างเดินทางไป ก็กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เคยแขวนพระก็ต้องให้พระนำทาง(หลวงพ่อทวด) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเองนิดหน่อย ระหว่างเดินทางเต็มไปด้วยสีสรรมากมาย มีด่านประมาณ 3-4 จุด ตั้งแต่นาหม่อม เข้า อ.หนองจิก และ อ.เมือง
ไม่ได้เข้ามาเขียนเล่าซะนาน วันนี้เลยจะนำเรื่องที่ไปกับคุณคณิตฯ เดินทางไปทำงานร่วมกับ มช. ที่ อ.แม่แจ่ม ซึ่งเป็นความพยายามจะแก้ปัญหาหมอกควันด้วย วทน. ที่มีอยู่ รวมทั้งการร่วมกับทางอำเภอในการนำเสนอแผนพัฒนาหมู่บ้าน ผ่านกลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ที่มีอยู่ทั่วประเทศ และผมเองได้ไปประชุมเกี่ยวกับ กม. ที่ ก.มหาดไทยมา ประเด็นเกี่ยวกับ กม. มีอะไรบ้าง
เรื่องเพื่อทราบ
1.1 การดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ในปี 2555 ตามข้อสั่งการ