โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐ ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินโครงการ วมว. ระยะแรก ๕ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ –๒๕๕๕) และให้ดำเนินการประเมินผลโครงการ เมื่อสิ้นปีที่ ๓ เพื่อนำผลการประเมินที่ได้มาประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่าในการพัฒนา ปรับปรุง ขยาย หรือยุติโครงการและเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ มีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายโครงการโดยปรับเพิ่มห้องเรียนวิทยาศาสตร์อีก ๒๐ ห้องเรียน โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐ ทั้งนี้ ให้ดำเนินโครงการขยายไปยังพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๑ ห้องเรียน โดยไม่ต้องรอผลการประเมินโครงการ และเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินโครงการ วมว. ระยะที่ ๒ ระยะเวลา ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ –๒๕๖๕)
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดังนี้
ระยะที่ ๑
๑. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ –โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
๓. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี –โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
๔. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี –โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
๕. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี– โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๖. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน –โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
๗. มหาวิทยาลัยขอนแก่น –โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
ระยะที่ ๒
๑. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ –โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. มหาวิทยาลัยนเรศวร –โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
๓. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี –โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
๔. มหาวิทยาลัยขอนแก่น –โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
๕. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม –โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
๖. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี –โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
๗. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน –โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
๘. มหาวิทยาลัยบูรพา –โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา
๙. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ –โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
๑๐. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี –โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
๑๑. มหาวิทยาลัยทักษิณ –โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม
๒. แนวทางการดำเนินงาน
การคัดเลือกมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจะพิจารณาจากความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการนำศักยภาพของมหาวิทยาลัยมาช่วยสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนให้สูงขึ้น และความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย โดยคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายหรืออยู่ในกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และกำกับดูแลการดำเนินการ
๓. การติดตามผลการดำเนินงาน
ช่วงเวลา |
ประเด็นการติดตาม |
---|---|
พ.ย. –ก.พ. |
ผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนชั้น ม.4โครงการ วมว. ประจำปีการศึกษา |
ก่อนวันประกาศผลการสอบรอบแรก 5 วัน |
[ ] ผลการสอบคัดเลือกรอบแรก โดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ |
ก่อนวันประกาศผลการสอบรอบสอง2-5 วัน |
[ ] ผลการสอบคัดเลือกรอบสอง โดยมหาวิทยาลัยแยกกันโดยอิสระ |
ก.พ. |
การแจ้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน [ ] การแจ้งจำนวนและรายชื่อนักเรียนใหม่ (ชั้น ม.4) รวมทั้งจำนวนและรายชื่อนักเรียนชั้น ม.5 และ ม.6 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี |
ภายใน ต.ค. (ก่อนเปิด |
การดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1 [ ] ผลการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน [ ] รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณที่ผ่านมา |
ภายใน 15 พ.ค. (ก่อนเปิด ภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาถัดไป) |
การดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 2 [ ] ผลการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน [ ] ผลการทดสอบทางการศึกษาที่จัดโดยส่วนกลาง [ ] O-NET นักเรียน ม.6 [ ] ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาผู้บุคลากรผู้สอน [ ] รายงานการจัดกิจกรรมค่ายสานสัมพันธ์ฉันท์ วมว. |