ปัจจุบันธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น แต่สิ่งที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าว คือ ภัยที่เกิดจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะภัยเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ตามสื่อต่างๆ ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถสรุปรูปแบบการกระทำอาชญากรรมทางe-Commerce และ e-Business ผ่านทางบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และแนวทางการแก้ปัญหาได้ดังต่อไปนี้
1) สรุปรูปแบบการกระทำอาชญากรรมทาง e-Commerce และ e-Business ผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่ 1 : การเจาะเข้าระบบงาน (Hack) โดยตรงและทำความเสียหายให้กับลูกค้า
กรณีที่ 2 : การดักจับข้อมูลจากสายสัญญาณขณะที่ลูกค้ากระทำธุรกรรม
- การสำเนารหัสจากอุปกรณ์ Skimmer ที่ถูกติดตั้งกับ Machine ที่ใช้ทำธุรกรรม
กรณีที่ 3 : การกระทำให้หลงเชื่อเพื่อให้ลูกค้ากระทำธุรกรรม
-โอนเงิน -ผ่านบัตรเครดิต
2) มุมมองการเสนอความคิดเห็นเพื่อเตรียมการสำหรับการเตรียมการของผู้ประกอบการ
จะต้อง/ควรจะ
1. สร้าง ระบบงานเตือนภัย (Alert System)เสริมด้านการให้บริการผู้บริโภค ผ่าน Mobile/e-Mail โดยเป็น Warning Message ตาม Policyที่ลูกค้าสามารถกำหนดได้เอง เช่น วงเงินมากที่สุดในการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง หรือในแต่ละวัน หรือ จำนวนครั้งของการใช้งานต่อวัน หรือกลุ่มอุปกรณ์สินค้าที่ซื้อโดยปกติ หรือ สถานที่ใช้งานตามปกติ เป็นต้น
2. ติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ระบุเบอร์ติดต่อไปยัง Call Center ของผู้ประกอบการ ณ. สถานที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ทำธุรกรรม เพื่อสะดวกต่อการแจ้งรายละเอียดเมื่อลูกค้าประสบปัญหาหรือเห็นสิ่งผิดปกติ (ต้องสร้างบรรยากาศการช่วยกันเตือนภัยจากภาครัฐประกอบด้วย)
3. ทำการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันและป้องปรามการทำอาชญากรรม เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิดในสถานที่ให้บริการบางแห่งที่สำคัญ
4. มีกระบวนการเพื่อตรวจสอบ Machine ที่ใช้รองรับการกระทำธุรกรรม ว่ามีการติดตั้งอุปกรณเครื่องดูดหรือกวาดข้อมูล (Skimmer) เพื่อการเจาะระบบหรือสำเนาข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าหรือไม่
5. สร้างกระบวนการทำงาน (Work Process) ในการประสานงานข้อมูลด้านรูปแบบอาชญากรรมทาง e-Commerce และ e-Business กับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ในการสร้างองค์ความรู้สำหรับการระวังภัยในรูปแบบต่างๆผ่าน Blog และประสานงานกับ Call Center หลักเพื่อเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายและเชื่อมต่อในการส่งผ่านเรื่องร้องทุกข์
3) มุมมองการเสนอความคิดเห็นเพื่อเตรียมการสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้าน e-Commerce และ E-Business
จะต้อง/ควรจะ
1. กำหนด พ.ร.บ. เพื่อเก็บ Logical Log สำหรับการกระทำธุรกรรมทาง e-Commerce หรือ e-Business ในกรณีที่ลูกค้าจ่ายเงินผ่านช่องทาง
- Credit Card
- บัตร ATM
- Digital Signature
- สิ่งแทนลูกค้าในลักษณะอื่นๆ
2. จัดตั้งศูนย์ประสานงานกลางเพื่อสร้างกระบวนการทำงาน (Work Process) สำหรับการประสานงานกับหน่วยงานในภาคธุรกิจหรือภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านรูปแบบอาชญากรรมทาง e-Commerce และ e-Business ให้มีความทันสมัยให้เป็นปัจจุบันเพื่อนำไปสร้างเป็นฐานข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้สำหรับการระแวดระวังภัย และสร้างภูมิคุ้มกันภัยสำหรับผู้บริโภค
3. จัดทำ Blog เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ในข้อที่ 2 เช่น
· การเตือนภัยในลักษณะการเข้ามาของ Message เช่น เบอร์โทร (Private Tel No. ,จากเมืองนอก) e-Mail , Telephone Banking
· การวิเคราะห์รูปแบบเชิงการกระทำอาชญากรรมทาง e-Commerce และ e-Business
· การเสนอการขายสินค้าทั่วไป
· การลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์
· การขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , DSI
· ข้อความประสงค์ดี เพื่อไม่ให้ตัดการให้บริการด้านการอำนวยความสะดวก เช่น MobilePhone , Cable TV , น้ำประปา , ไฟฟ้า เป็นต้น
4. จัดสร้าง Call Center หลักเพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ความรู้ และทำการประสานงานการรับแจ้งความร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
5. ขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่มีเพื่อเผยแพร่ผ่าน Social Network และ Member บนระบบ e-Businessของหน่วยงาน/ธุรกิจ ต่างๆ โดยอาจสร้างข้อมูลเชิงกระตุ้นเตือน เช่น รายงานสรุปเชิงสถิติของอาชญากรรมทาง e-Commerce และ e-Business ที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมต่อประสานงานเพื่อขอข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบทางคดีความ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ DSI กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย http://www.etcommission.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=185&Itemid=183&lang=en
คณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบทางด้านสังคมอันเกิดจากการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์