สรุปเนื้อหาจากการเสวนาฯ ดังนี้
1. Process
- แนวคิด นโยบายด้าน e-government ของประเทศต่างๆ นั้นไม่ต่างกันมาก หากจะแตกต่างกันคือ การนำไปปรับใช้ (Implement) งบประมาณ บุคลากร ในแต่ละประเทศ
- การดำเนินการในอดีตเน้นที่ Silo และ Transaction ในอนาคต ควรมุ่งเน้น InteractionalและIntegration มากขึ้น
- คุณค่าของประชาชนกับบริการของภาครัฐ : การออกแบบระบบบริการต่างๆ ควรคำนึงถึง Business Process ของภาคประชาชน ณ ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐนำไอทีเข้ามาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงานของหน่วยงาน (Business Process ของหน่วยงาน) เช่น ลดขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานน้อยลงในฐานะของหน่วยงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ในฐานะของประชาชนมีความเสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมาย เช่น การกรอกแบบฟอร์มต่างๆ หากประชาชนกรอกผิด ประชาชนอาจมีความผิดทางกฎหมายโดนข้อหาสำแดงเท็จ เป็นต้น ดังนั้นควรคำนึงถึงประชาชนให้มากยิ่งขึ้น หรือออกแบบระบบให้สามารถตอบคำถามประชาชนได้
- การออกแบบที่ดีคือ ประชาชนไม่มีความเสี่ยง ระบบงานจะต้องสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ (การใช้เทคโนโลยี In-Memory Computing)
- สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ 1) การบูรณาการ 2) ยังไม่ให้คุณค่าแก่ประชาชนอย่างแท้จริง
- สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานให้ดีขึ้นไปสู่การพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงภาคประชาชนเป็นหลัก
- เน้น Citizen centric: ประชาชนจะเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการทำงานของภาครัฐมากยิ่งขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย citizen collaboration, citizen development, citizen interacting และ citizen communication
- Standardization: การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ควรผลักดันในส่วน Standardization ให้เกิดขึ้นเนื่องจากในอนาคตจะเกิดการเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
- การพัฒนาที่จะต้องเปลี่ยนจาก "e - electronic" ไปสู่ "i - intelligence"
- การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ กระบวนการ, การใช้ เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ มากยิ่งขึ้น
- การพัฒนาที่จะต้องบูรณาการมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคเอกชนได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น บัตรโดยสาร BTS ที่สามารถนำไปซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มที่ร่วมรายการได้ เป็นต้น
- Differentiate คือ การนำ IT มา Differentiate ตัวเองหรือองค์กรเพื่อทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่ การนำไอทีมาใช้เพื่อให้ระบบดีขึ้นเท่านั้น
2. People
ผู้ใช้ : ผู้ใช้ทุกวันนี้เริ่มหันมาใช้ IT มากขึ้น จึงไม่เป็นอุปสรรค หากแต่ต้องทำระบบให้ง่ายต่อการเข้าถึง เช่น Facebook เป็นต้น
ผู้พัฒนา : ต้องเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นผู้พัฒนา วางแผนในระยะยาว
ผู้ดูแลศูนย์ : ต่อไปจะไม่จำเป็น เนื่องจากในอนาคตเริ่มหันมาใช้ Cloud มากยิ่งขึ้น
หัวหน้าหน่วยงาน, ผู้นำ : เป็นบุคคลสำคัญที่จะผลักดัน e-Government เนื่องจากต้องสามารถคิดบริการ โครงการสำหรับประชาชน เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี หากสามารถพัฒนา IT Leader ได้ก็จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้รวมทั้ง การ Empower ก็เป็นสิ่งสำคัญในอนาคตนอกจากการวัดด้าน Efficiency แล้วควรวัดด้าน Empower ด้วย
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/517759